• ตอนที่ 8 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    จับกับวาง นักศึกษาธรรมะ หรือนักปฏิบัติธรรมะ มีสองประเภท ประเภทที่หนึ่ง ศึกษาปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ ์อย่างแท้จริง ประเภทที่สอง ศึกษาปฏิบัติเพื่อจะอวดภูมิกันถกเถียงกันไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ใครจำตำราหรืออ้างครู บาอาจารย์ได้มาก ก็ถือว่าตนเป็นคนสำคัญ บางทีเข้าหาหลวงปู่แทนที่จะถามธรรมะ ข้อปฏิบัติจากท่าน ก็กลับพ่น ความรู้ความจำของตนให้ท่านฟัง อย่างวิจิตรพิสดารก็เคยมีไม่น้อย แต่สำหรับหลวงปู่นั้นทนฟังได้เสมอ เมื่อเขาจบลงแล้วยังช่วยต่อให้หน่อยหนึ่งว่า “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยตําราและ อาจารย์เหมือนกัน” ทำจิตให้สงบได้ยาก การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ได้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้ บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้าหรือ ยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ชื่อว่าเป็นผู้ได้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญ เป็นกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทาน รักษาศีล เคยมี ลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์พยายาม ภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย มีวิธีอื่นใดบ้างทีพอจะปฏิบัติได้ หลวงปู่เคยแนะนำวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า “ถึงจิตมันไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลด สังเวช…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 7 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    ไม่เบียดเบียนแม้ทางวาจา หลวงปู่กล่าววาจาบริสุทธิ์ เพราะท่านกล่าวเฉพาะวาจาที่เป็นประโยชน์ และไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน เพราะคำพูดของท่านแม้จะมีผู้ใดมาพูด เป็นเหตุที่จะชวนให้ท่านวิพากษ์วิจารณ์ ใคร ๆ ให้ฟังสักอย่าง ท่านก็ไม่เคย คล้อยตาม หลายครั้งที่มีผู้ถามท่านว่า หลวงปู่ ทำไมพระนักพูดนักเผยแผ่ระดับประเทศ บางองค์เวลาพูดหรือเทศน์ชอบ พูดโจมตีคนอื่น พูดเสียดสีสังคม หรือพูดกระทบกระแทกพระเถระด้วยกัน เป็นต้น พระพูดในลักษณะนี้จ้างผมก็ ไม่นับถือดอก หลวงปู่ว่า “ก็ท่านมีภูมิรู้ ภูมิธรรมอยู่อย่างนั้น ท่านก็พูดไปตามความรู้ความถนัดของท่านนั่นแหละ การจ้างให้นับถือ ไม่มีใครเขาจ้างหรอก เมื่อไม่อยากนับถือ ก็อย่าไปนับถือซิ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก” พระหลอกผี ส่วนมากหลวงปู่ชอบแนะนำส่งเสริมพระเณรให้ใส่ใจเรื่องธุดงค์กัมมัฏฐานเป็นพิเศษเลย ครั้งหนึ่งพระสานุศิษย์มาชุมนุมกันจำนวนมาก ทั้งแก่พรรษาและอ่อนพรรษา หลวงปู่ชี้แนวทางว่า ให้พากันไปอยู่ป่า หาทางวิเวก หรืออยู่ตามถ้ำเพื่อเร่งความเพียร จะได้พ้นจากภาวะตกต่ำทางจิตบ้าง ยังมีพระรูปหนึ่งพูดออกมาพล่อย ๆ ว่า ผมไม่กล้าไปครับเพราะผมกลัวผีหลอก หลวงปู่ตอบเร็วว่า “ผีที่ไหนเคยหลอกพระ มีแต่พระนั่นแหละหลอกผี และตั้งกระบวนการหลอกผีเป็นการใหญ่เสียด้วย คิดดูให้ดีนะ วัตถุสิ่งของที่ชาวบ้านเขาเอามาบริจาคทำบุญนั้น แทบทั้งหมดล้วนทำเพื่ออุทิศส่งไปให้ผี ีทั้งนั้นผีพ่อแม่ปู่ย่าตา ยายญาติพี่น้องเขา แล้วพระเราเล่าประพฤติตนเหมาะสมแล้วหรือ มีคุณธรรมอะไรบ้าง ที่จะส่งผลให้ถึงผีได้…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 6 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    ปรารภธรรมะให้ฟัง จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากหลาย พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง มีคนเคารพนับถือมาก ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม “ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นับว่ายังไม่ได้รับรสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอก ทั้งนั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ภายนอก คือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง หรือเป็นสัญญาลักษณ์ของศาสนวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น คือ ความพ้นทุกข์ “จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อ รู้จิตหนึ่ง” คิดไม่ถึง สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นั่นเอง อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูปอยากจะ เคร่งครัดเป็นพิเศษ ถึงขั้นสมาทานไม่พูดกันตลอดพรรษา คือไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกจากปากใคร ยกเว้น การสวดมนต์ทำวัตร หรือสวดปาฏิโมกข์เท่านั้น ครั้นออกพรรษาแล้วพา กันไปกราบหลวงปู่เล่าถึงการปฏิบัติ ิอย่างเคร่งของพวกตนว่า นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้ว สามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาอีกด้วย หลวงปู่ฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า “ดีเหมือนกัน เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้น เป็นไปไม่ได้หรอก นอกจาก พระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติชั้นละเอียด ดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้นอกนั้น พูดทั้งวันทั้งคืน ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าไม่พูดนั่นแหละยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้นเอง” อย่าตั้งใจไว้ผิด นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตของท่านมาสอนแล้ว…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 5 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    คนละเรื่อง มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคงคุ้นเคยกับพระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว สังเกตจากการนั่งการพูด เขานั่งตาม สบาย พูดตามถนัด ยิ่งกว่านั้น เขาคงเข้าใจว่าหลวงปู่นี้คงสนใจกับเรื่องเครื่องรางของขลังอย่างดี เขาพูดถึงชื่อเกจิ อาจารย์อื่น ๆ ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่ คนหนึ่งมี ีเขี้ยวหมูตัน คนหนึ่งมีเขียวเสือ อีกคนมีหน่อแรด ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ มีคนหนึ่งเอยว่า หลวงปู่ฮะ อย่างไหนแน่วิเศษกว่ากันฮะ หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเป็นพิเศษยิ้ม ๆ แล้วว่า “ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน” ปรารภธรรมะให้ฟัง คราวหนึ่ง หลวงปู่กล่าวปรารภพระธรรมให้ฟังว่า เราเคยตั้งสัจจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ ในพรรษาที่ ๒๔๙๕ เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน ที่สุดแห่งสัจธรรม หรือที่สุดของทุกข์นั้นอยู่ตรงไหน พระพุทธองค์ทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร ครั้นอ่านไป ตริตรองไป กระทั้งถึงจบ ก็ไม่เห็นตรงไหนที่สัมผัสอันลึกซึ้งถึง จิตของเรา ให้ตัดสินได้ว่านี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งมรรคผล หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ มีอยู่ตอนหนึ่ง คือครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ พระพุทธเจ้าตรัสถาม เชิงสนทนาธรรมว่า สารีบุตร สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 4 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    รู้ให้พร้อม ระหว่างที่หลวงปู่อยู่รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้น มีผู้ไปกราบนมัสการและพังธรรมเป็น จำนวนมาก คุณบำรุงศักดิ์ กองสุข เป็นผู้หนึ่งที่สนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนา นัยว่า เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ แห่งวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดปฏิบัติที่เคร่งครัดฝ่ายธุดงค์กัมมัฏฐานในยุคปัจจุบัน ได้ปรารภการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ ถึงเรื่องการละกิเลสว่า “หลวงปู่ครับ ทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้” หลวงปู่ตอบว่า “ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง” ไม่ตามใจผู้ถาม ผู้ที่เฝ้ารักษาพยาบาลหลวงปู่ ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ในรอบดึกมีจำนวนหลายท่านด้วยกัน เขาเหล่านั้นมี ความสงสัยและอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง โดยสังเกตเห็นว่า บางวันพอเวลาดึกสงัดตีหนึ่ง ผ่านไปแล้ว ได้ยินหลวงปู่ อธิบายธรรมะ นานประมาณสิบกว่านาที แล้วสวดยถาให้พร ทำเหมือน หนึ่งมีผู้มารับฟังอยู่เฉพาะหน้าเป็นจำนวนมาก ครั้นจะถามประพฤติการที่หลวงปู่ทำเช่นนั้นก็ไม่กล้าถาม ต่อเมื่อเห็นหลวงปู่ทำเช่นนั้นหลายครั้งก็ทนสงสัยต่อไปไม่ได้ จึงพากันถามหลวงปู่ตาม ลักษณาการนั้น หลวงปู่จึงบอกว่า “ความสงสัยและคำถามเหล่านี้ มันไม่ใช่เป็นแนวทางปฏิบัติธรรม” ประหยัดคำพูด คณะปฏิบัติธรรมจากจังหวัดบุรีรัมย์หลายท่าน มีร้อยตำรวจเอกบุลชัย สุคนธมัต อัยการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหัวหน้า มากราบหลวงปู่ เพื่อฟังข้อปฏิบัติธรรมและเรียนถามถึงวิธีปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก ซึ่งส่วนมากก็เคยปฏิบัติ ิกับครูบาอาจารย์แต่ละองค์มาแล้ว…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 3 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    ทุกข์เพราะอะไร สุภาพสตรีวัยเลยกลางคนผู้หนึ่ง เข้านมัสการหลวงปู่ พรรณนาถึงฐานะของตนว่า อยู่ในฐานะที่ดี ไม่เคยขาด แคลนสิ่งใดเลย มาเสียใจกับลูกชายที่สอนไม่ได้ ไม่อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดี ตกอยู่ภายใต้อํานาจอบายมุข ทุกอย่าง ทำลายทรัพย์สมบัติและจิตใจของพ่อแม่ จนเหลือที่จะทนได้ ขอความกรุณาหลวงปู่ให้ช่วยแนะอุบาย บรรเทาทุกข์ และแก้ไขให้ลูกชายพ้นจากอบายมุขนั้นด้วย หลวงปู่ก็แนะนำสั่งสอนไปตามเรื่องราวนั้น ๆ ตลอดถึงแนะอุบายทำใจให้สงบรู้จักปล่อยวางให้เป็น เมื่อสุภาพสตรีนั้นกลับไปแล้ว หลวงปู่ปรารภธรรมะให้ฟังว่า “คนสมัยนี้ เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด” อุทานธรรม หลวงปู่ยังกล่าวธรรมกถาต่อมาอีกว่า สมบัติพัสถานทั้งหลายมันมีประจำอยู่ในโลกนี้มาแล้วอย่างสมบูรณ์ ผู้ที่ขาดปัญญาและไร้ความสามารถ ก็ไม่อาจจะแสวงหาเพื่อยึดครองสมบัติเหล่านั้นได้ ย่อมครองตนอยู่ด้วย ความฝืดเคืองและลำบากขันธ์ ส่วนผู้ที่มีปัญญามีความสามารถ ย่อมแสวงหายึดสมบัติของโลกไว้ได้อย่างมากมาย อำนวยความสะดวกสบายแก่ตนได้ทุกกรณี ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านพยายามดำเนินตนเพื่อออกจากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ไปสู่ภาวะแห่งความไม่มี ีอะไรเลย เพราะว่า “ในทางโลก มี สิ่งที่ มี , ส่วนในทางธรรม มี สิ่งที่ ไม่มี” อุทานธรรมต่อมา เมื่อแยกพันธะแห่งความเกี่ยวเนื่องจิตกับสรรพสิ่งทั้งปวงได้แล้ว จิตก็หมดพันธะกับเรื่องโศก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 2 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    หลวงปู่เตือนพระผู้ประมาท ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท คอยนับจำนวนศีลของตนแต่ในตำรา คือ มีความพอใจภูมิใจกับจำนวนศีลที่มี อยู่ในคัมภีร์ ว่าตนนั้นมีศีลถึง ๒๒๗ ข้อ “ส่วนที่ตั้งใจปฏิบัติให้ได้นั้น จะมีสักกี่ข้อ” จริง แต่ไม่จริง ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ทำสมาธิภาวนา เมื่อปรากฏผลออกมาในแบบต่างๆ ย่อมเกิดความสงสัย ขึ้นเป็นธรรมดา เช่น เห็นนิมิตในรูปแบบที่ไม่ตรงกันบ้าง ปรากฏในอวัยวะร่างกายของตนเองบ้าง ส่วนมากมากราบเรียนหลวงปู่เพื่อ ให้ช่วยแก้ไข หรือแนะอุบายปฏิบัติต่อไปอีก มีจำนวนมากที่ ถามว่า ภาวนาแล้วก็เห็น นรก สวรรค์วิมานเทวดา หรือไม่ก็เป็น องค์พุทธรูปปรากฏอยู่ในตัวเรา สิ่งที่เห็นเหล่านี้เป็นจริงหรือ ฯ หลวงปู่บอกว่า “ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง” แนะวิธีละนิมิต ถามหลวงปู่ต่อมาอีกว่า นิมิตทั้งหลายแหล่ หลวงปู่บอกว่ายังเป็นของภายนอกทั้งหมด จะเอามาทำอะไรยังไม่ได้ ถ้าติดอยู่ในนิมิตนั้นก็ยังอยู่แค่นั้น ไม่ก้าวต่อไปอีก จะเป็นด้วยเหตุที่กระผมอยู่ในนิมิตนี้ มานานหรืออย่างไร จึงหลีกไม่พ้น นั่งภาวนาทีไรพอจิตจะรวมสงบก็เข้าถึงภาวะนั้นทันที หลวงปู่โปรดได้แนะวิธีละ นิมิตด้วยว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ผล หลวงปู่พูดว่า “เออ นิมิตบางอย่างมันก็สนุกดี…

    Continue Reading

  • ตอนที่ 1 : คำสอน คติธรรมของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

    โดย พระโพธินันทมุนี รวบรวมธรรมะสั้นๆ ทั้งที่เป็นสัจธรรมล้วนหรือเป็นคำสอน คำเตือน และธรรมที่ท่านหลวงปู่ดุลย์ อตุโล กล่าวตอบคำถามของผู้ถาม ตลอดถึงพระพุทธพจน์บางตอนจากพระไตรปิฎกที่หลวงปู่ชอบยกขึ้นมาปรารภให้ฟังเสมอ ซึ่งปกติท่านเป็นพระผู้ไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุด แต่มีปฏิภาณไหวพริบเร็วฉับไวมาก และไม่มีผิดพลาด พูดสั้นย่อ แต่อมความหมายไว้ ้อย่างสมบูรณ์ คำพูดของท่านแต่ละประโยคมีความหมายและเนื้อหาจบลงโดยสิ้นเชิง เหมือนหนึ่งสะกดจิตผู้ฟังหรือ ผู้ถามให้ฉุกคิดอยู่เป็นเวลานาน แล้วก็ต้องใช้ความตริตรองด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง เรื่องที่ 1 ธรรมะปฏิสันถาร เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมหลวงปู่เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงถามถึงสุขภาพอนามัย และการอยู่สำราญ แห่งอิริยาบถของหลวงปู่ ตลอดถึงทรงสนทนาธรรมกับหลวงปู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปุจฉาว่า “หลวงปู่การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน” หลวงปู่ถวายวิสัชนาว่า “กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน” เรื่องที่ 2 หลวงปู่ไม่ฝืนสังขาร ทุกครั้งที่ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมหลวงปู่ หลังจากเสร็จพระราชกรณียกิจ ในการเยี่ยมแล้ว เมื่อจะเสด็จกลับทรงมีพระราชดำรัสคำสุดท้ายว่า “ขออาราธนา หลวงปู่ให้ ดำรงขันธ์อยู่เกินร้อยปี…

    Continue Reading

  • ความรู้เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ

    พระบรมสารีริกธาตุ คือ ธาตุที่เกิดหลงเหลือหลังจากการถวายพระเพลิงสรีระสังขารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับชาวพุทธแล้วนนั้นพระบรมสารีริกธาตุเป็นสิ่งสูงค่ายิ่งโยชน์ยากจะประเมินได้ สูงค่ากว่าทุกปูชนียสถานและปูชนียวัตถุใดในโลกนี้ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่เกิดจากพระวรกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวพุทธมีคติความเชื่อว่าในการสร้างพุทธเจดีย์จะสำเร็จลุล่วงสมบูรณ์เมื่อได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ในเจดีย์บรจุไว้ ซึ่งพระเจดีย์หรือพุทธเจดีย์มีการแบ่งเป็นชนิดประเภทต่างๆ ได้ 4 ประเภท คือ 1. ธาตุเจดีย์ คือ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระธาตุจากร่างของพระอรหันต์ เช่น พระปฐมเจดีย์ เจดีย์พระธาตุพนม เจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ เจดีย์พระบรมบรรพต(ภูเขาทอง) 2. บริโภคเจดีย์ คือ เจดีย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น เจดีย์สังเวชนียสถาน 4 ตำบล เจดีย์ ณ สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฎิหาริย์ เจดีย์ ณ สถานที่บรรจุพระอังคาร เจดีย์ ณ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เจดีย์ ณ สถานที่บรรจุทะนานโลหิตที่ตวงพระธาตุ เจดีย์ที่มีการนำพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูก เป็นต้น 3. ธรรมเจดีย์ คือ สิ่งจารึกพระธรรมไว้บูชา พระไตรปิฎกก็ถือเป็นธรรมเจดีย์เพราะเป็นการจารึกข้อธรรม 4. อุเทสิกเจดีย์ คือ สิ่งระลึกถึงพระรัตนตรัย ไม่มีการกำหนดรูปแบบ เช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุมีความสำคัญต่อชาวพุทธซึ่งมีประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ…

    Continue Reading

Search

MeePraDee.Com

แหล่งรวมข้อมูลความรู้ สำหรับนักสะสมพระเครื่อง วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังต่างๆ พระสมเด็จ หลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด เหรียญพระเกจิคณาจารย์ สำหรับนักสะสมและบุคคลทั่วไปที่มีความศรัทธาในพระเครื่องและวัตถุมงคล.

Tags

Gallery